วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ตัวอย่างพืช GMO

แอปเปิล
ผลของการตัดต่อทางพันธุกรรมที่มีต่อ แอปเปิล คือ
1.ทำให้ความสดและกรอบของผลมีระยะเวลานานขึ้น (delay ripening)
2.ทนต่อแมลงต่างๆ ที่เป็นศัตรูพืช

สตรอเบอร์รี
การตัดต่อทางพันธุกรรม (GMO) ส่งผลให้ สตรอเบอร์รี
1.เน่าช้าลง ทำให้สะดวกต่อการขนส่ง
2.เพิ่มสารอาหาร

วอลนัท
หลังจากที่ทำการตัดต่อทางพันธุกรรมแล้ว จึงทำให้เม็ด วอลนัทนั้นมีคุณสมบัติที่ดีขึ้นคือ
1.เม็ด วอลนัท แข็งขึ้น
2.ทนทานต่อโรค
ข้อควรระวังเกี่ยวกับ GMO

เทคโนโลยีทุกอย่างเมื่อมีประโยชน์ก็มักจะมีโทษ พันธุวิศวกรรมที่นำมาใช้ตกแต่งสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตก็เช่นกัน อาจมีผลทางลบต่างๆด้วย หากกระทำโดยไม่ระมัดระวัง กล่าวคือ GMO ที่ผลิตขึ้น อาจมีปัญหาต่อความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosafety) คือ อาจมีปัญหาต่อสุขภาพของมนุษย์ มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งความหลากหลายทางชีวภาพ(biodiversity)
ในการตัดต่อยีนส์ ถ้าเป็นยีนส์จากสิ่งมีชีวิตเหมือนกัน เช่น ยีนส์จากพืชถ่ายให้พืชย่อมมีปัญหาน้อย หรือ ยีนส์จากสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งไม่เป็นพิษภัยก็ไม่น่าจะก่อปัญหา โดยปกติยีนส์ที่ควบคุมลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งมักจะมียีนส์ช่วยแสดงหรือที่เรียกว่า promoter และเมื่อจะเลือกยีนส์ก็มักต้องใส่ยีนส์ช่วยการคัดเลือก คือ selection markers เช่น ยีนส์ต้านยาปฎิชีวนะเข้าไปด้วย มีคำถามว่ายีนส์เหล่านี้จะเป็นพิษเป็นภัยหรือไม่

ปัญหาเกี่ยวกับผู้บริโภคอาหารที่ได้มาจากGMO
ผลิตภัณฑ์จาก GMO ก่อให้เกิดอันตรายหรือไม่ เช่น หาก GMO มีสารพันธุกรรมจากไวรัส สารพันธุกรรมที่สร้างสารพิษ อาหารที่มาจาก GMO มีคุณค่าทางโภชนาการเทียบเท่าที่มาจากสายพันธุ์ตามธรรมชาติหรือไม่
อาหาร GMO เช่น อาหารทะเล อาหารจากพืชตระกูลถั่ว ไข่ ซึ่งถูกตกแต่งพันธุ์โดยยีนส์จากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกพวกหนึ่ง อาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายของอาการภูมิแพ้ เช่น ยีนส์จากถั่ว brazil nut ซึ่งนำไปเพิ่มคุณค่าโปรตีนในถั่วเหลือง พบว่าผู้บริโภคเกิดภูมิแพ้ต่อถั่วเหลืองสายพันธุ์ใหม่นี้มาก
สำหรับการตกแต่งพันธุกรรมในสัตว์จะปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่นั้น ต้องมีการประเมินความปลอดภัยที่ครอบคลุมมากกว่าของจุลินทรีย์และพืช
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)
สารพันธุกรรมที่ใช้ตกแต่งในสิ่งมีชีวิตอาจเกิดการแพร่กระจายและถ่ายทอดไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่นๆได้หรือไม่ เช่น สารพันธุกรรมที่ใช้เป็นรหัสเลือก (selection markers) สร้างความต้านทานต่อยาปฎิชีวนะ สารพันธุกรรมที่ต้านยาปราบวัชพืช ซึ่งอาจทำให้เกิดการดื้อยาปราบศัตรูพืชโดยเฉพาะวัชพืช และจุลชีพอื่นๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดพันธุกรรมเหล่านี้
การแพร่กระจายความต้านทานต่อยาปฎิชีวนะ ในสิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยเฉพาะ เชื้อโรคนั้นอาจมีผลกระทบโดยตรงต่อการใช้ยาปฎิชีวนะในการฆ่าเชื้อโรคเพื่อการรักษาโรค เพราะฉนั้นการนำและใช้ GMO จึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในเรื่องนี้ให้มาก ซึ่งอาจมีคำถามในหลายเรื่องเช่น ความปลอดภัยทางชีวภาพ ว่ามีมากน้อยแค่ไหน เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ราคา การค้าระหว่างประเทศข้อมูลความเสี่ยง ข้อมูลข่าวสาร ทำอย่างไรจึงจะสื่อให้คนทั่วไปเข้าใจ จะก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับผู้บริโภคหรือไม่ จะมีผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร
เมื่อเราตัดต่อยีนส์ให้อยู่ผิดที่ผิดทาง เช่นใส่ยีนส์ของ Bacillus thuringiensis ซึ่งสามารถฆ่าแมลงได้ เช่น ฝ้ายสามารถสร้างสารพิษ ฆ่าแมลงได้เอง ถ้าผีเสื้อและผึ้งมาดอมดมฝ้ายนี้แล้ว ผึ้งจะตายหรือไม่ เป็นปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพ
ประโยชน์จาก GMO

1). ปรับปรุงพันธุ์พืชให้ต้านแมลง และโรค
1.1 พันธุ์พืชต้านทานแมลง เป็นที่ทราบกันดีว่า แบคทีเรีย Bacillus thuringiensis (Bt) สามารถผลิตสารชีวภาพที่เมื่อนำมาฉีดพ่นคล้ายกับสารเคมีอื่นๆ สามารถฆ่าแมลงกลุ่มหนึ่งอย่างได้ผล ดังนั้นเพื่อลดการใช้สารเคมี นักพันธุวิศวกรรมจึงได้นำยีนส์จาก Bt มาปลูก หรือถ่ายฝากให้แก่พืชเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ฝ้าย ข้าวโพด และถั่วเหลือง เป็นต้น ทำให้พืชสายพันธุ์ที่ได้รับการถ่ายฝากยีนส์นี้ มีความต้านทานแมลงได้เอง โดยไม่ต้องฉีดพ่นสารเคมีฆ่าแมลงจากภายนอก และใช้ได้ในเชิงการค้ามาแล้วในหลายประเทศ
1.2 พืชพันธุ์ต้านโรคไวรัส
1.3 การพัฒนาพันธุ์พืชให้มีคุณภาพผลผลิตที่พึงประสงค์ เช่นเรื่องมะเขือเทศที่สุกงอมช้าลง
1.4 การพัฒนาพันธุ์พืชให้ผลิตสารพิเศษ มีวิตามินมากขึ้น ผลิตสารต่างๆที่นำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นพลาสติกย่อยสลายได้ โพลิเมอร์ต่างๆ
2. การพัฒนาพันธุ์สัตว์ มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาอาหาร ผลจากประชากรของโลกที่เพิ่มอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ศักยภาพการเลี้ยงสัตว์ หรือพื้นที่ยังคงมีจำกัด หรือเท่าเดิม ด้วยเทคโนโลยี GMO ทำให้เรามีอาหารพอเพียงกับพลโลกที่เพิ่มขึ้น เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ที่ผ่านมา สำนักข่าว
AP ในวอชิงตันแถลงภายใต้หัวข้อว่า Gene Therapy yields bigger pigs ว่า "some days, hogs may not eat like pigs" ทั้งนี้เพราะ Professor Robert J Schwartz ซึ่งเป็น Professor of Molecular and Cellular Biology ที่ Baylor College of Medicine ที่ Houston แถลงว่าได้พบวิธีเปลี่ยนยีนส์ให้หมู แล้วทำให้ลูกหมูโตเร็วกว่าปกติ ถึงร้อยละ 40 (มีน้ำหนักหนัก 92 ปอนด์ หมูธรรมดาจะหนักเพียง 65 ปอนด์) และมีขนาดใหญ่กว่าหมูปกติ ในขณะที่กินอาหารลดลง 25% หมูเหล่านี้ขับถ่ายของเสียลดลงมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่เกษตรกรที่เลี้ยงสุกรในสหรัฐอเมริกาพึงประสงค์ เพราะในหลายๆรัฐ ของเสียจากสุกรเป็นปัญหารบกวน ทำลายสิ่งแวดล้อม นอกจากหมูแล้ว สัตว์อื่นๆ เช่น วัว สัตว์ปีก สัตว์น้ำต่างๆ ก็ถูกปรับปรุงพันธุ์ จุดประสงค์ส่วนใหญ่ ก็คือ โตเร็ว ใช้อาหารน้อย ค่าใช้จ่ายน้อยลง ทนทานโรคและแมลง ให้ผลผลิตมากกว่า เทคโนโลยีนี้เกษตรกรที่ผลิตสัตว์สนใจกันมาก ตัวอย่างสัตว์อื่นๆ เช่น วัวที่ทนโรคและแมลง ไข่ที่มีโคเลสเตอรอลน้อยลง ปลาทูน่าโตเร็วต้านทานโรค
3). การพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ให้มีคุณสมบัติพิเศษ เราใช้ GMO ในการวิจัยและอื่นๆ การผลิตจุลชีพที่สามารถนำไปผลิต live attenuated mutants ของสายพันธุ์ที่มีชีวิตที่ได้จากตัวที่ก่อโรค โดยทำการตัดยีนส์ที่ทำให้เกิดโรคออกไป เช่น Choleraและ โรทาไวรัส นอกจากนั้นยังสามารถรวมยีนส์ของจุลชีพหลายๆชนิดเพื่อผลิต hybrids เพื่อทำให้มี multipotent vaccine ได้
การผลิต vaccine component เช่นต้องการให้ผลิต adhesive factors มาก นำยีนส์ของการสร้าง fimbriae ใส่เข้าไป โดยมี promoter markers ผลิตส่วนประกอบของยา ผลิต insulin หรือผลิต clotting factors เพื่อการรักษาโรคเลือดออกต่างๆ รวมทั้งผลิตจุลินทรีย์ที่มีลักษณะพิเศษที่ใช้ย่อยคราบน้ำมันในทะเล เทคโนโลยีเดียวกันนี้อาจนำมาใช้ในการรักษา โดยใช้ gene therapy เป็นการใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมทั้งสิ้น